เกย์
เกย์ (อังกฤษ: gay) มักหมายถึงบุคคลที่มีรสนิยมทางเพศแบบรักเพศเดียวกัน เดิมคำว่าเกย์ในภาษาอังกฤษมีความหมายว่า ไร้กังวล มีความสุข
ความสำราญใจ เฉียบแหลมและน่าประทับใจ แต่ในทุกวันนี้คำว่าเกย์มีความหมายทางวัฒนธรรมย่อยของพวกรักร่วมเพศ และอาจมีความหมายร่วม
กระบวนทัศน์ความเป็นเกย์เช่น เพลงเกย์, หนังเกย์ เป็นต้น หรืออาจหมายถึงภาพรวมของความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกัน แม้คำว่าเกย์ไม่ได้จำกัดความ
ทางเพศ แต่มักใช้เฉพาะกับกลุ่มผู้ชายรักเพศเดียวกัน ในขณะที่คำจำกัดความทางเพศอย่าง เลสเบี้ยน ก็ใช้เฉพาะกลุ่มผู้หญิงรักเพศเดียวกัน การใช้คำว่าเกย์
จะหมายความถึงเฉพาะผู้ชายที่รักเพศเดียวกันเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผู้ชายที่เป็นพวกรักสองเพศ (มีความสัมพันธ์ทางเพศได้กับทั้งชายและหญิง)
ก็มักถูกเรียกว่าเป็นเกย์เช่นกัน
Gay
The term gay was originally used, until well into the mid-20th century, primarily to refer to feelings of being "carefree", "happy", or "bright
and showy"; it had also come to acquire some connotations of "immorality" as early as 1637. The term later began to be used in reference to
homosexuality, in particular, from the early 20th century, a usage that may have dated prior to the 19th century. In modern English, gay has
come to be used as an adjective, and occasionally as a noun, that refers to the people, practices, and culture associated with homosexuality.
By the end of the 20th century the word gay was recommended by major style guides to describe people attracted to members of the same sex.
ราชอาณาจักร เกย์ และเลสเบียนแห่งหมู่เกาะคอรัลซี
ราชอาณาจักร เกย์ และเลสเบียนแห่งหมู่เกาะคอรัลซี (อังกฤษ: Gay and Lesbian Kingdom of the Coral Sea Islands) เป็นประเทศที่จำลองขึ้น
เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มเรียกร้องสิทธิชาวเกย์ (อังกฤษ: Group for Gay Rights) ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐควีนส์แลนด์
ประเทศออสเตรเลีย การสถาปนาประเทศนี้เป็นการแสดงออกของลัทธิชาตินิยมในหมู่ผู้ชื่นชอบเพศเดียวกัน (อังกฤษ: queer nationalism)
หลังจากที่รัฐสภากลางแห่งออสเตรเลียได้ออกกฎหมายห้ามการสมรสระหว่างเพศเดียวกันใน พ.ศ. 2547 กลุ่มเรียกร้องสิทธิชาวเกย์แห่งออสเตรเลียได้ล่องเรือ
ไปถึงเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะคอรัลซีและปักธงแห่งชาวเกย์กลางเกาะแล้ว ได้ประกาศแยกหมู่เกาะคอรัลซีจากประเทศออสเตรเลียและสถาปนาเป็น
"ราชอาณาจักรเกย์และเลสเบียนแห่งหมู่เกาะคอรัลซี" เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2547 โดยนายเดล พาร์เคอร์ แอนเดอร์ซัน (Dale Parker Anderson; เกิด พ.ศ. 2508)
สมาชิกคนหนึ่งของกลุ่มฯ ได้สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิเดลที่ 1 (อังกฤษ: Emperor Dale I)
ในปีถัดมา กลุ่มเรียกร้องสิทธิชาวเกย์แห่งออสเตรเลียจำใจเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในข้อพิพาทภายในประเทศหลายประการ และในการแยกตัวจากออสเตรเลียของ
หลายกลุ่ม เช่น การสถาปนาเครือจักรภพเกย์และเลสเบียน (อังกฤษ: Gay and Lesbian Commonwealth Kingdom) อันมีนายแจ็กซ์ บรูกซ์ (Jaix Broox) เป็นผู้นำ
คนแรก, การสถาปนาชนเผ่าเกย์ (อังกฤษ: Unified Gay Tribe) มีนายบิล ฟรีแมน (Bill Freeman) และนายอองรีก เปแรซ (Enrique Perez) เป็นผู้นำร่วมกันคนแรก,
ตลอดจนการสถาปนามูลนิธิเพื่อปิตุภูมิของชาวเกย์ (อังกฤษ: Gay Homeland Foundation) มีนายวิกเตอร์ ซิมเมอร์แมน (Victor Zimmerman) เป็นประธานมูลนิธิคนแรก
อย่างไรก็ดี การสถาปนาราชอาณาจักรเกย์และเลสเบียนแห่งหมู่เกาะคอรัลซีไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐชาติใด ๆ และไม่ได้มีการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนจริง ๆ บนเกาะ
หมู่เกาะคอรัลซียังคงร้างผู้คนอยู่ตามเดิม และถึงแม้ว่าในวันที่ 1 มกราคม 2549 ราชอาณาจักรฯ ได้เริ่มจัดตั้งและให้บริการไปรษณีย์ระหว่างรัฐควีนส์แลนด์ กับหมู่เกาะคอรัลซี เรียกชื่อ "ราชไปรษณีย์เกย์" (อังกฤษ: Royal Gay Mail) แต่ก็มิได้มีการรับรองหรือยืนยันเอกราชของราชอาณาจักรฯ นี้จริงๆ
บาร์ เกย์
บาร์ เกย์ (อังกฤษ: Gay bar) คือบาร์เฉพาะที่จัดให้พิเศษ (หรือเน้น) ให้ลูกค้าเกย์ เลสเบี้ยน ไบเซ็กชวลและคนข้ามเพศ (กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ)
ที่มีคำว่าเกย์มาใช้ยังครอบคลุมไปถึงกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศและเกย์ บาร์เกย์เป็นศูนย์รวมของสังคมเกย์และเป็นที่ในไม่กี่ที่ที่ชาวรักเพศเดียวกัน
และกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศจะมาพบปะสังสรรค์กันอย่างเปิดเผย คำอื่นที่อาจหมายถึงบาร์เกย์ ในเช่น คลับเกย์ ผับเกย์ หรือในภาษาอังกฤษอย่าง
boy bar, girl bar, queer bar, lesbian bar, และ dyke bar เป็นต้น ซึ่งชื่อขึ้นกับสังคมเฉพาะกลุ่มนั้นๆ และด้วยการมาถึงของสังคมบริการเครือข่ายสังคมทาง
อินเทอร์เน็ต และการเปิดกว้างขึ้นในการยอมรับของผู้คนต่อกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ จึงทำให้บาร์เกย์ในสังคมเกย์มีจำนวนลดลงไป
Special thanks to Wikipedia |